วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กล้วยไม้สกุลหวาย ( Dendrobium spp. )





เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเซียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์

กล้วยไม้สกุลหวาย มีลักษณะการเจริญเติบโตแบบซิมโพเดียล คือ มีลำลูกกล้วย เมื่อลำต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่และเป็นกอ ใบแข็งหนาสีเขียว ดอกมีลักษณะทั่วไปของกลีบชั้นนอกคู่บนและคู่ล่างขนาดยาวพอๆ กันโดยกลีบชั้นนอกบนจะอยู่อย่างอิสระเดี่ยวๆ ส่วนกลีบชั้นนอกคู่ล่างจะมีส่วนโคน ซึ่งมีลักษณะยื่นออกไปทางด้านหลังของส่วนล่างของดอกประสานเชื่อมติดกับฐานหรือสันหลังของเส้าเกสร และส่วนโคนของกลีบชั้นนอกคู่ล่างและส่วนฐานของเส้าเกสรซึ่งประกอบกันจะปูดออกมา มีลักษณะคล้ายเดือยที่เรียกว่า “เดือยดอก” สำหรับกลีบชั้นในทั้งสองกลีบมีลักษณะต่างๆ กันแล้วแต่ชนิดพันธุ์ของกล้วยไม้นั้นๆ

กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สำหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นกล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก “เอื้อง” ต่างๆ เช่น


เอื้องผึ้ง(Den. aggregatum)
เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยป้อมสั้นและเบียดกันแน่น ลักษณะใบแข็งหนาสีเขียวจัด ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ก้านช่อดอกอ่อนโค้งลงมา ช่อหนึ่งมีมากกว่า 20 ดอก พื้นดอกสีเหลืองอ่อน ปากสีเหลืองเข้ม ขนาดดอกโตประมาณ 3 เซนติเมตร พบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้








เหลืองจันทบูร(Den. friedericksianum)
เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดแถบจังหวัดจันทบุรี เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปาในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม




เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย(Den. pulchellum)
เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะกลม ต้นอ่อนเป็นเส้นสีม่วงลักษณะใบรูปไข่ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร เมื่อลำแก่แล้วจะทิ้งใบ แตกช่อห้อยที่ปลายลำ ออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ช่อหนึ่งมี 5–10 ดอก กลีบดอกเป็นสีเหลืองอ่อนมีเส้นเหลืองชมพู ปากรูปไข่กลมแบะแอ่นลงมีแต้มสีเลือดหมู 2 แต้ม กลีบนอกเป็นรูปใบ ภายในกลีบเป็นรูปไข่ พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง







เอื้องเงินหลวง(Den. formosum)
เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยตั้งตรง กลมค่อนข้างอ้วน ที่กาบใบมีขนสีดำลักษณะใบรูปไข่ยาวรี ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร ปลายใบมี 2 แฉกไม่เท่ากัน ออกดอกที่ยอด ช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งๆ มี 3–5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว ปากสีเหลืองส้มโคนปากสอบปลายปากเว้า มีสันนูนสองสันจากโคนออกมาถึงกลางปาก ขนาดดอกโตประมาณ 10 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน








เอื้องเงิน(Den. draconis)
มีลักษณะลำต้นคล้ายกับเอื้องเงินหลวง แต่จะมีลำและใบสั้นกว่าก้านช่อสั้น มีดอกประมาณ 2-5 ดอก ดอกขนาด 8-9 เซนติเมตร กลีบขาว ปากสีส้มอมแดง ออกดอกเดือนมีนาคมถึงเมษายน พบมากที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวัน
ตก










แหล่งที่มา

กล้วยไม้สกุลแวนด้า ( Vanda spp.)

กล้วยไม้สกุลแวนด้าพบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเซีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ

1.แวนด้าใบกลม
มีลักษณะของใบกลมยาวทรงกระบอก ต้นสูง ข้อห่าง สังเกตได้ที่ใบติดอยู่ห่างๆ กัน มีดอกช่อละหลายดอก แต่ดอกจะบานติดต้นอยู่คราวละ 2–3 ดอกเท่านั้น เมื่อดอกข้างบนบานเพิ่มขึ้น ดอกข้างล่างจะโรยไล่กันขึ้นไปเรื่อยๆ การปลูกใช้ดอกจึงนิยมปลิดดอกมากกว่าตัดดอกทั้งช่อ


2.แวนด้าใบแบน
ลักษณะใบแผ่แบนออก ถ้าตัดมาดูหน้าตัดจะเป็นรูปตัววี มีข้อถี่ปล้องสั้น ใบซ้อนชิดกัน ปลายใบโค้งลงและจักเป็นแฉก


3.แวนด้าใบร่อง
มีรูปทรงของใบและลำต้นคล้ายใบแบนมากกว่าใบกลม แวนด้าประเภทนี้ไม่พบในป่าธรรมชาติ การนำมาปลูกเลี้ยงเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งสิ้น โดยนำแวนด้าใบกลมมาผสมกับแวนด้าใบแบน


4.แวนด้าก้างปลา
มีรูปทรงของใบและลำต้น กิ่งใบกลมกับใบแบน พบตามป่าธรรมชาติน้อยมาก เพราะกล้วยไม้พันธุ์นี้เป็นหมันทั้งสิ้น





ฟ้ามุ่ย (Vanda coerulea)













สามปอยหลวง (Vanda benbonii)









เอื้องสามปอยหลวง (Vanda benbonii)












แวนด้าไตรคัลเลอร์(Vanda tricolor)












เอื้องโมกข์(Vanda teres)











แวนด้าเดียรีอิ(Vanda dearei)











แวนด้าอินซิกนิส(Vanda insignis)













เอื้องสามปอยขาว(Vanda denisoniana)











เอื้องสามปอยชมพู(Vanda bensoni)













แวนด้าลูกผสม V. Dr. Anek














แวนด้าลูกผสม V. Gordon Dillon







แหล่งที่มา

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กล้วยไม้พันธุ์รองเท้านารี (Paphiopedilum spp.)


กล้วยไม้พันธุ์รองเท้านารี (Paphiopedilum spp.)

เป็นกล้วยไม้สกุลหนึ่งที่มีการพัฒนาของกลีบปากได้อย่างน่าทึ่งมากที่สุดคือมีลักษณะเป็นกระเปาะคล้ายกระเป๋าหรือรองเท้าบูทของผู้หญิงชาวยุโรปโบราณ อันเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า “lady slipper” หรือ “slipper orchid” กลีบปากที่เป็นกระเป๋านี้ยังได้ซ่อนกลเม็ดอันแยบยล สุดที่นักวิชาการจะหาเหตุผลมาอธิบายได้หมดสิ้นบ้างก็ว่าลักษณะกลีบดอกกระเป๋าเป็นกลไกที่บังคับให้แมลงเดินไปยังทางออกที่จัดไว้เฉพาะ เป็นผลให้เกิดการนำพาเกสรเพศผู้ไปผสมกับเกสรเพศเมีย บางคนอธิบายถึงการสะสม ของระดับน้ำในกระเป๋าเวลาฝนตก ระดับน้ำที่สูงขึ้นเป็นกลไกที่ทำให้เกิดการผสมเกสรได้ เหตุผลเหล่านี้ยังคงสอดคล้องกับกล้วยไม้รองเท้านารีบางชนิดเป็นกรณีไปเท่านั้น ยังคงมีความลับซ่อนอยู่อีกมากมายภายใต้ดอกกล้วยไม้แสนสวยเหล่านี้


ประเทศไทยเป็นบ้านหลังใหญ่ของกล้วยไม้รองเท้านารีหลากหลายชนิด ชนิดที่พบในประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วนถึง 1 ต่อ 4 ของกล้วยไม้รองเท้านารีสกุล Paphiopedilum ทั้งหมดบนโลก(ทั่วโลกมีประมาณ 70 ชนิด) ซึ่งในจำนวนนี้มีชื่อเรียกภาษาไทยแตกต่างหลากหลายตามแหล่งที่พบบางชื่อก็พบว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์อันเดียวกัน ซึ่งพอจะสรุปได้ว่ามีประมาณ 24 ชื่อเรียกภาษาไทย 17 ชื่อวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งกว้างๆได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
กลุ่มที่มีกลีบดอกแผ่กว้าง ดอกมีลักษณะกลมหรือเกือบกลม สีพื้นดอกมักเป็นสีขาวขาวครีม เหลืองอ่อน หรือเหลือง พบจุดประเล็กๆสีเข้มกระจายบนพื้นดอก ใบสั้นและแผ่กว้างมีลายตารางหรือคล้ายหินอ่อน

1.รองเท้านารีเหลืองปราจีน (Paphiopedilum concolor)


2.รองเท้านารีเหลืองอุดร (Paph. concolor)


3.รองเท้านารีเหลืองกาญจน์ (Paph. concolor Var stratianum)


4.รองเท้านารีเหลืองตรัง (Paph. godefroyae)


5.รองเท้านารีเหลืองพังงา (Paph. leucochilum)


6.รองเท้านารีขาวชุมพร (Paph. godefroyae)


7.รองเท้านารีขาวสตูล (Paph. niveum)


8.รองเท้านารีช่องอ่างทอง (Paph. x Angthong)


9.รองเท้านารีฝาหอย (Paph. bellatulum)

กลุ่มที่มีกลีบดอกแคบเรียวยาว บางชนิดพบจุดไฝสีดำ หรือกลีบดอกบิดเป็นเกลียวมีความหลากหลายของสีสันรูปทรงของดอกมาก ใบยาวและแคบ บางชนิดพบลายตารางหรือคล้ายหินอ่อน

(ชนิดที่ 10-14) บางชนิดใบเขียวไม่มีลาย



10.รองเท้านารีคางกบคอแดง (Paph. appletonianum)


11.รองเท้านารีคางกบ (Paph. collosum)


12.รองเท้านารีม่วงสงขลา (Paph. babartum)


13.รองเท้านารีเกาะช้าง (Paph. simensis)


14.รองเท้านารีปีกแมลงปอ (Paph. sukhakulii)


15.รองเท้านารีหนวดฤาษี (Paph. parishii)


16.รองเท้านารีเชียงดาว (Paph. parishii)


17.รองเท้านารีอินซิกเน่ (Paph. insigne)


18.รองเท้านารีอินทนนท์ (Paph. villosum)


19.รองเท้านารีอินทนนท์ใบแคบ (Paph. gatrixianum)


20.รองเท้านารีดอยตุง (Paph. chaleswherthii)


21.รองเท้านารีดอยตุงกาญจน์ (Paph. sp.)


22.รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paph. exul)


23.รองเท้านารีเหลืองเลย (Paph. hirsutissimum)


ที่มาของข้อมูล


วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กล้วยไม้สกุลกุหลาบ (Aerides spp.)



กล้วยไม้สกุลกุหลาบ เป็นกล้วยไม้ที่พบตามธรรมชาติในป่าทั่วทุกภาคของประเทศไทยและประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้ อาจขึ้นเป็นต้นเดียวโดดๆ หรือขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ มีการเจริญเติบโตแบบฐานเดี่ยว บางต้นมียอดเดียว บางต้นแตกเป็นกอ มีหลายยอด เมื่อต้นสูงหรือยาวขึ้นจะห้อยย้อยลงมา แต่ปลายยอดยังคงชี้ขึ้นข้างบน ช่อดอกส่วนใหญ่โค้งปลายช่อห้อยลงมา รากเป็นระบบรากอากาศ ดอกมีขนาดปานกลาง มักมีกลิ่นหอม มีเดือยดอกเรียวแหลมหรือปลายงอนออกมาทางด้านหน้าของดอก ซึ่งเป็นลักษณะที่แตกต่างกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆ กลีบดอกผึ่งผายสวยงามสะดุดตา เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย มีบทบาทสำคัญในการผสมพันธุ์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ สามารถผสมในสกุลเดียวกัน และผสมข้ามสกุลต่างๆ เช่น ผสมกับสกุลแวนด้าเป็นสกุลแอริโดแวนด้า (Aeridovanda) ผสมกับสกุลช้างเป็นสกุลแอริโดสไตลิส (Aeridostylis) สำหรับกล้วยไม้สกุลกุหลาบที่พบตามธรรมชาติในประเทศไทยมีดังนี้


กุหลาบกระเป๋าปิด(Aerides odorata Lour. )
กุหลาบกระเป๋าปิดเป็นกล้วยไม้ชนิดเดียวในสกุลกุหลาบที่ส่วนปลายปากแคบกว่าหู และทั้ง 2 ส่วนพับขึ้นมาปิดเส้าเกสรไว้ พบขึ้นอยู่ทุกภาคของประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบในลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า อินเดีย เนปาล และภูฎาน กุหลาบกระเป๋าปิดมีลำต้นบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย ต้นห้อยย้อยลง มักแตกแขนงเป็นหลาย ปลายใบหยักไม่เท่ากัน ใบค่อนข้างบางไม่แข็งทื่อ ขอบใบบิดเล็กน้อย โคนใบหุ้มต้น ออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม แต่ละช่อมีประมาณ 30 ดอก แต่ละดอกกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว ปลายกลีบเป็นสีม่วงอมแดงอ่อนๆ ส่วนปลายปากเป็นสีม่วง สำหรับกุหลาบกระเป๋าปิดที่พบทางภาคเหนือ จะมีลักษณะแตกต่างออกไปเล็กน้อย คือต้นจะตั้งตรงและบิดน้อยกว่า ใบสั้นกว่าและหนากว่า ก้านส่งช่อดอกแข็งทำให้ช่อดอกโค้งลงเพียงเล็กน้อย







กุหลาบเหลืองโคราช(Aerides houlettiana Rchb. f )
กุหลาบเหลืองโคราชมีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบกระเป๋าเปิด แต่มีพื้นกลีบเป็นสีเหลืองแทนที่จะเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นคล้ายกลิ่นตะไคร้ ความยาวของใบและของช่อดอกจะสั้นกว่ากุหลาบกระเป๋าเปิด ในประเทศไทยพบเฉพาะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพบใน ประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม
กุหลาบเหลืองโคราชออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม จุดเด่นของกุหลาบเหลืองโคราชอยู่ตรงที่มีสีเหลือง ในแต่ละต้นจะมีความผิดเพี้ยนกันไป คือ อาจมีสีเหลืองเข้ม เหลืองอ่อน หรือบางต้นแทบไม่มีสีเหลืองเลย ในการคัดพันธุ์ควรเลือกสีเหลืองเข้มเป็นหลัก เพราะกล้วยไม้สกุลนี้ในประเทศไทยมีชนิดนี้เพียงชนิดเดียวที่ดอกมีสีเหลือง






กุหลาบแดง(Aerides crassifolia Parish ex Burbidge)
กุหลาบแดงเป็นกุหลาบที่มีเดือยดอกยาวเห็นได้ชัดเจน เดือยงอนขึ้นและไม่ซ่อนตัวอยู่ใต้ปลายปาก ใบยาวประมาณ 10-18 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร ใบหนา ผิวใบอาจย่นมากหรือน้อย โดยย่นตามขวางของใบ ในประเทศไทยพบที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งที่นครนายกและกาญจนบุรี
นอกจากนี้ยังพบในประเทศพม่า ลาว และเวียดนาม
กุหลาบแดงออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม มีช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งมีประมาณ 10 ดอกเท่านั้น ดอกมีสีม่วงแดง การจัดระเบียบดอกในช่อไม่งดงามเหมือนกล้วยไม้กุหลาบชนิดอื่น








กุหลาบอินทจักร(Aerides flabellata Rolfe ex Downie)
กุหลาบอินทจักรเป็นกุหลาบเดือยยาวชนิดเดียวที่ฝาครอบอับเรณูกว้างและมนซึ่งชนิดอื่นจะแหลมเป็นปากกา ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคเหนือ และพบในพม่ากุหลาบอินทจักรมีก้านช่อดอกค่อนข้างแข็ง ช่อดอกตั้ง ออกดอก 5-10 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีลักษณะคล้ายกัน สีเขียวอมเหลืองและมีแต้มสีน้ำตาลอมม่วง สีขาวมีจุดสีชมพูอมม่วง ขอบจักเป็นฟันเลื่อย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤกษภาคม จุดเด่นของกุหลาบชนิดนี้อยู่ที่เดือยยาวและงอน จนปลายเดือยชี้กลับเข้าไปหาตัวดอก อาจเรียกว่า กล้วยไม้เดือยงาม ก็ได้






กุหลาบมาลัยแดง(Aerides multiflora Roxb.)
กุหลาบมาลัยแดงมีลักษณะดอกคล้ายกุหลาบน่าน แตกต่างกันที่ปลายปาก คือ ปากของกุหลาบน่านเป็นรูปสามเหลี่ยม แต่ปากของกุหลาบมาลัยแดงเป็นรูปหัวใจ ปลายสุดของปากป้านและหยักกลาง ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์แถบภาคเหนือ อีสาน นครนายก ชลบุรี และกาญจนบุรี นอกจากนี้ยังพบใน ประเทศเนปาล สิกขิม ภูฎาน อินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม กุหลาบมาลัยแดงมีลำต้นแข็งแรง ใบหนาโค้ง ซ้อนกันถี่ ใบกว้างประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร ช่อดอกโค้งห้อยยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร ก้านช่อมักมีสีคล้ำเกือบดำ ออกดอกเบียดชิดกันแน่นช่อ โดยทั่วไปจะมีกลีบดอกสีม่วงแดง มักจะมีสีจางจนถึงขาวที่โคนกลีบ และสีจะเข้มขึ้นจนสุดที่ปลายกลีบช่อดอกจะแตกแขนงถ้าเลี้ยงให้สมบูรณ์และอากาศเย็น ออกดอกในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ต้นที่ดอกมีสีขาวล้วนเรียกว่า “มาลัยเผือก”







กุหลาบชมพูกระบี่ กุหลาบพวงชมพู(Aerides krabiense Seidenf.)
กุหลาบชมพูกระบี่หรือพวงชมพู พบครั้งแรกที่จังหวัดกระบี่ และต่อมาได้พบที่จังหวัดใกล้เคียงกัน เช่นที่พังงา และเกาะต่างๆ ในบริเวณนั้น รวมทั้งที่เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซียด้วย โดยจะพบขึ้นอยู่ตามหน้าผาริมทะเลที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ กล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลกุหลาบที่พบในประเทศไทย เป็นกุหลาบที่ต้นมักแตกเป็นกอ ใบแคบหนา โค้งงอและห่อเป็นรูปตัววี ปลายใบแหลม ผิวใบมีจุดประสีม่วงแดงอยู่ทั่วไปและปรากฎมากขึ้นเมื่อถูกแดดจัดหรืออากาศแห้งแล้งเช่นเดียวกับใบเข็มแดง กุหลาบชมพูกระบี่ออกดอกระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ช่อดอกยาว 15-25 เซนติเมตร บางต้นพบช่อดอกแตกแขนงด้วย มีเดือยดอกสั้นมาก ปลายปากกว้างมน ดอกมีพื้นขาว มีจุดประสีม่วงแดง หรือชมพูเข้มกลางแผ่นปากมีสีแดงเข้ม ดอกคล้ายกุหลาบมาลัยแดง หรือกุหลาบน่าน จุดสังเกตที่เด่นชัดคือลักษณะของปลายปากที่แตกต่างกัน คือ กุหลาบน่านปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน กุหลาบมาลัยแดงปลายปากป้านและหยักกลาง ส่วนกุหลาบชมพูกระบี่ปลายปากกว้าง








กุหลาบน่าน กุหลาบเอราวัณ กุหลาบไอยรา
(Aerides rosea Loddiges ex Lindl. & Paxt.)
กุหลาบน่านเป็นพวกที่มีเดือยดอกสั้นมาก เห็นเป็นตุ่มขนาดใหญ่ มีปลายปากเป็นรูปสามเหลี่ยมชัดเจน ปลายใบหยักกลางแต่หยักไม่เท่ากัน ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเท่านั้น และพบน้อยมาก นอกจากนี้ยังพบในภูฎาน อินเดีย พม่า ลาว เวียดนาม และมณฑลยูนนานของจีน กุหลาบน่านช่อดอกมีก้านส่งแข็ง ชี้เฉียงลง แต่ส่วนช่อที่ติดดอกจะโค้งห้อยลง ถ้าต้นสมบูรณ์ ช่อดอกจะแตกแขนง ดอกเบียดกันแน่นช่อ กลีบดอกสีขาว มีแต้มสีม่วงแดง ที่ปลายกลีบมีจุม่วงแดงประปราย ปากสีม่วงแดง ออกดอกในเดือนมีนาคมถึงมิถุนายน






กุหลาบกระเป๋าเปิด(Aerides falcata Lindl.)
กุหลาบกระเป๋าเปิดพบขึ้นอยู่ในทุกภาคของประเทศไทยและยังพบในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม เป็นกล้วยไม้ที่มีปลายปากกว้างอ้าออก ยื่นไปข้างหน้า มีเดือยดอกค่อนข้างตรง ซ่อนอยู่ใต้ปลายปาก อยู่ชิดขนานกับปลายปาก ใบยาว 20-30 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร กุหลาบกระเป๋าเปิดออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ช่อดอกห้อย ช่อรูปทรงกระบอก กลีบปากมี 3 แฉก เปิดกว้าง ริมแผ่นปากเป็นฝอย มีลายสีม่วงแดงแล้วจางเป็นสีขาว พื้นกลีบดอกเป็นสีขาว มีแต้มสีม่วงอมชมพูที่ปลายกลีบ ขนาดดอกประมาณ 2.5 เซนติเมตร ดอกมีกลิ่นหอม


ที่มาของข้อมูล

มารู้จักกล้วยไม้กันดีกว่า

ความเป็นมาของกล้วยไม้








กล้วยไม้มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "orchid" น่าแปลกที่ทั้งในภาษาไทยและอังกฤษต่างก็มีความหมายใกล้เคียงกัน เราเรียกพืชชนิดนี้ว่า กล้วยไม้ เพราะมีลักษณะ คล้ายกล้วย ได้แก่เอื้องต่าง ๆ เช่น เอื้องผึ้ง หรือเอื้องคำ ซึ่งมีมากในแถบภาคเหนือของประเทศ ส่วนของกล้วยไม้บางตอนมีลักษณะคล้ายผลกล้วยเราเรียกว่า ลำลูกกล้วย คำ "orchid" นั้น มาจากภาษากรีกหมายความถึงลักษณะโป่งเป็นกระเปาะคล้ายต่อมชื่อนี้ก็คงจะได้มาจากการพิจารณาจากลำลูกกล้วยที่เป็นส่วนของกล้วยบางชนิดเช่นเดียวกันแต่ลักษณะพื้นฐานทาง พฤกษศาสตร์ ที่บรรยายลักษณะพืชในวงศ์กล้วยไม้ ได้ยึดถือรายละเอียดต่าง ๆ ของดอกเป็นหลักสำคัญพันธุ์ไม้ในวงศ์กล้วยไม้ด้วย กล้วยไม้มีสภาวะความเป็นอยู่ตามธรรมชาติแตกต่างกัน บางชนิดอยู่บนพื้นดินบางชนิดอยู่บนต้นไม้ และบางชนิดขึ้นอยู่บนหินที่มีหินผุและใบไม้ผุ ตกทับถมกันอยู่ ทั้งนี้สุดแล้วแต่ลักษณะและอุปนิสัยของกล้วยไม้แต่ละชนิด ซึ่งจะปรับตัวตามความเหมาะสมกับสภาวะและการเปลี่ยนแปลงตามสภาพต่าง ๆ ของธรรมชาติที่แวดล้อม



มารู้จักพันธ์ต่างๆของกล้วยไม้กันดีกว่า




สกุลเข็ม (Ascocentrum spp.)







กล้วยไม้สกุลเข็ม ได้สมญาว่าเป็น “ราชินีของกล้วยไม้แวนด้าแบบมินิหรือแบบกระเป๋า” เพราะเป็นกล้วยไม้ที่มีลักษณะเล็กทั้งขนาดต้น ช่อดอก ขนาดดอก และมีดอกที่มีสีสดใสสะดุดตามากกว่ากล้วยไม้อื่นๆ ในธรรมชาติพบกล้วยไม้สกุลนี้กระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลงไปถึงอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ จัดเป็นกล้วยไม้ประเภทไม่แตกกอ มีการเจริญเติบโตขึ้นไปทางส่วนยอด เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลช้าง สกุลแวนด้า สกุลกุหลาบ มีลำต้นสั้น ใบเรียงแบบซ้อนทับกัน รากเป็นระบบรากอากาศ ออกดอกตามข้อของลำต้นระหว่างใบ ช่อดอกตั้งตรงเป็นรูปทรงกระบอก จัดเป็นกล้วยไม้ประเภทแวนด้าที่มีดอกขนาดเล็ก ในประเทศไทยมีกล้วยไม้สกุลเข็มแท้อยู่ 4 ชนิดคือ เข็มแสด เข็มแดง เข็มม่วง และเข็มหนู แต่ที่มีบทบาทสำคัญในการผสมปรับปรุงพันธุ์ คือ เข็มแดง เข็มแสด และเข็มม่วง


เข็มแดง(Ascocentrum curvifolium)
พบกระจายพันธุ์ในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย มาทางประเทศพม่า จนถึงประเทศไทย แถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก และ กาญจนบุรี ที่ระดับความสูง 100-300 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใบมีสีเขียวอ่อน ค่อนข้างอวบน้ำ ใบแคบ โค้ง เรียว ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ในฤดูแล้งขอบใบจะปรากฏจุดสีม่วงประปรายและจะหนาแน่ขึ้นเมื่อแล้งเพิ่มมากขึ้น ดอกสีแดงอมส้ม ดอกโตประมาณ 1.5 เซนติเมตร ช่อดอกรูปทรงกระบอก ตั้งตรง แข็ง ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ดอกแน่นช่อ บานทนนับเป็นสัปดาห์ ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม


เข็มแสด(Ascocentrum miniatum)
พบกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในทุกภาคของประเทศไทย ทั้งในลักษณะภูมิประเทศที่ราบและที่เป็นภูเขา จึงสามารถปลูกเลี้ยงได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย เข็มแสดมีลำต้นไม่สูงนัก ใบเรียงซ้อนกันแน่น ใบอวบหนา ปลายใบเป็นฟันแหลม และโค้งเล็กน้อย ใบสีเขียวแก่ และอาจมีสีม่วงบ้างเล็กน้อย เมื่อมีสภาพอากาศแห้งแล้ง ใบยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ดอกมีกลีบหนา ผิวกลีบเป็นมันสีส้มหรือสีเหลืองส้ม ขนาดดอกโตประมาณ 1–1.5 เซนติเมตร ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก ดอกแน่นช่อ ช่อหนึ่งอาจมีมากกว่า 50 ดอก ออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม



เข็มม่วง(Ascocentrum ampullaceum)
พบตามธรรมชาติในประเทศไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และต่ำลงไปถึงจังหวัดกาญจนบุรี ที่ระดับความสูงกว่าเข็มแดง เข็มม่วงมีลำต้นตั้งแข็ง ใบแบนกว้าง ปลายตัดและมีฟันแหลมๆ ไม่เท่ากันทลายฟัน ใบยาวประมาณ 15 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ใบสีเขียวคล้ำ ในฤดูแล้งใบจะมีจุดสีม่วงเล็กน้อย ดอกสีม่วงแดง ก้านดอกสั้นเป็นสีเดียวกับดอก เดือยดอกยาวดอกโตประมาณ 2 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งตรงรูป





เข็มหนู(Ascocentrum semiteretifolium)
เป็นกล้วยไม้ที่มีใบเป็นแบบใบกลม มีร่องลึกทางด้านบนของใบ ใบกว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร มีดอกสีม่วงอ่อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทย พบที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นกล้วยไม้ที่ค่อนข้างหายาก ลักษณะของต้นและดอกไม่เป็นที่นิยมของนักปลูกเลี้ยง กล้วยไม้สกุลเข็มเป็นกล้วยไม้ที่ดอกมีสีสันสดใส มีช่อดอกแข็งชูตั้งขึ้นเป็นรูปทรงกระบอก ดอกแน่นเป็นระเบียบ สามารถให้ดอกพร้อมกันได้หลายช่อ ปลูกเลี้ยงง่าย จึงนิยมนำกล้วยไม้สกุลเข็ม (Ascocentrum) ผสมข้ามสกุลกับกล้วยไม้สกุลแวนด้า (Vanda) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมแอสโคเซ็นด้า (Ascocenda) ซึ่งจะทำให้ได้กล้วยไม้ที่มีสวยงามขึ้น ออกดอกดกขึ้น ดอกบานทนและปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น




ขอบคุณที่มา